ยิ น ดี ต้ อ น รั บ . . T o W e l C o m e

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวข้อสอบ เคมี

1.    แก๊สชนิดหนึ่งประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจน  จากการทดลองพบว่ามวลโมเลกุลชนิดนี้มี
         ค่าประมาณ  50   และมีปริมาณไนโตรเจนประมาณ  30% โดยมวลโมเลกุลของแก๊สชนิดนี้ประกอบ
         ด้วยออกซิเจนกี่อะตอม(ดูเฉลย)
          1.   1                     2.   2                     3.  3                               4.  4
2.    จากการวิเคราะห์สารประกอบ  Fe(SCN)3   .xH2O   พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ  19  โดย มวล
         สารประกอบนี้มีกำมะถันร้อยละเท่าใด(ดูเฉลย)
                1.  11.26              2.  22.53                3.  33.80                         4.  45.07
3.    กรดซัลฟิวริก  49  g   มี  H ,  S  และ O อย่างละกี่อะตอม  ตามลำดับ(ดูเฉลย)
                1.  3.01  x 1022                 6.02 x1022                  1.2 x1023
                    2.   3.01 x 1022                 1.2 X1023                    6.02 x 1022
                3.   6.02 x1022                  3.01  x1022                 1.2 x   1023
                4.   6.02  x1022                 1.2  x1023                    3.01  x1022
4.     ในการวิเคราะห์ผักบุ้ง  100 g  พบว่ามีตะกั่ว 0.208  ส่วนในล้านส่วน  ผักบุ้งจำนวนนี้มีตะกั่วกี่อะตอม
( Pb= 207) (ดูเฉลย)
       1.    6.02  x 1014              2.   6.02 x 1016          3.   6.02 x 1020     4.   6.02 x 1022
5.    จากสูตรของ   NaClO3 ,  SiCl4 ,  CO2 ,  Li2CO3  จงเขียนสูตรของสารประกอบต่อไปนี้  เรียงตามลำดับ
         จากเจอร์เมเนียม   (IV)  โบรไมด์
         โซเดียมซิลิเคต
         ซิลิคอน  (IV)  ซัลไฟด์
         โพแทสเซียมโบรเมต(ดูเฉลย)
                  1.   GeBr2  ,  NaSiO3  ,  SiS3  ,  K2BrO3         2.   GeBr4 ,  Na2SiO4 ,  Si4S ,  KbrO3
                  3.   GeBr2 ,  Na2SiO4 ,  SiS2  ,  KbrO3           4.   GeBr4 ,  Na2SiO3 ,  SiS2 ,  KbrO3
6      สาร  X  5  g  ละลายในเบนซีน  20 g  สารละลายเดือดที่อุณหภูมิ  83.3C  จุดเดือดของ  X  และเบนซีน
เท่ากับ  300  และ 80.10C   ตามลำดับ  ถ้า  Kb   ของเบนซีนเท่ากับ  2.53C  X  มีมวลโมเลกุลเท่าใด
(ดูเฉลย)
1.   20                             2.   198                         3.   316                         4.   396
7.   น้ำเกลือซัลเฟตสูตร   MSO4.nH2O  หนัก 5.0 g  มาละลายในน้ำจนละลายหมด   แล้วเติมสารละลาย
       BaCl2  ลงไปมากเกินพอ  ปรากฏว่าเกิดปฏิกิริยาได้ตะกอน  BaSO4 หนัก  4.0 g  ถ้ามวลโมเลกุลของ
       MSO4   g   เท่ากับ  161.5  g.mol-1  n   มีค่าเท่าใด(ดูเฉลย)
         1.   4                               2.   5                              3.  6                             4.    7
8.       นักเคมีคนหนึ่งต้องการแยกเงินออกจากสารละลายที่ต้องการทิ้งซึ่งมี  AgNO3  เป็นส่วนใหญ่  เขาเติมสาร
ละลาย  BaCl2  เข้มข้น  0.5  mol.dm3  ลงไปทีละน้อยจนเกิดตะกอน   AgCl   สมบูรณ์  ปรากฏว่าใช้
BaCl2  ไป  24.0 cm3  ตะกอนที่ได้มี  Ag  หนักเท่าใด(ดูเฉลย)
1.   1.30  g                      2.   2.59 g                  3.   3.44 g                     4.  2.59  g
9.     H3PO4   สามารถแยกตัวให้โปรตอนได้  3  ขั้นตอน  จากค่า  K a ต่อไปนี้  ข้อสรุปใดผิด(ดูเฉลย)
          H3PO4     H+ + H2PO-4            Ka1   =    7.5  x 10-3
          H2PO4-         H+ + HPO2-4            Ka2   =    6.3 x 10-8
          HPO2-4     H+ + PO3-4               Ka3   =    4.0 x 10-13
1.   H3PO4  เป็นกรดแก่กว่า   H2PO-4  และ  HPO42-   ตามลำดับ
2.   สารละลาย  H3PO4   จะมีปริมาณ  H+ (หรือ  H3O+ )  มากกว่าไอออนชนิดอื่นๆ
              3.   H2PO4-  แสดงสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส
              4.   H3PO4  และ  H2PO4-  เป็นคู่กรด เบสกันเช่นเดียวกับ  H2PO4-  กับ  HPO42-  ดังนั้น  H3PO4 และ
                    HPO42- นับเป็นคู่กรด เบสกันได้
10.    เมื่อนำสารละลาย   A   B   C   และ   D  ความเข้มข้นเท่ากันไปทดสอบการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส และ
         ความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ข้อมูลดังนี้(ดูเฉลย)
  สารละลาย
สีกระดาษลิตมัส
ความสว่างของหลอดไฟ
A
ไม่เปลี่ยนแปลง
สว่างมาก
B
แดง -  น้ำเงิน
สว่างเล็กน้อย
C
น้ำเงิน -  แดง
สว่างมาก
D
ไม่เปลี่ยนสี
ไม่สว่างเลย

สารละลาย   A   B    C  และ  D   ในข้อใดเป็นไปได้
ข้อ
A
B
C
D
1.
MgCl2
NH4OH
H2SO4
C12H22O11
2.
NaCl
NaOH
C2H5OH
H2O
3.
KNO3
CH3COOH
KOH
NH4CN
4.
Na2Co3
NH4Cl
H2S
CH3OH

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีรับมือน้ำท่วม

1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
        
2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
        
3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
        
4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
        
5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
        
6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
        
 7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
        
 8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
        
 9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
        
10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
        
 11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
        
12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

น้ำท่วมกรุงเทพ

ครม. มีมติไม่อนุมัติวันหยุดหนีน้ำท่วมเพิ่ม
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติ ไม่เห็นชอบตามข้อเสนอ ของ พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ที่ให้ขยายวันหยุดราชการออกไปอีก หลังจากที่ ครม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้หยุดราชการ ระหว่าง 27 -31 ตค. เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทม.
        ทั้งนี้ ในส่วนของข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถมาปฏิบัติงาน ได้ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ โดยไม่ให้ถือว่าไม่เป็นวันลานอก จากนี้ ครม.ได้รับการประสานงานจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้เลื่อนการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 จากเดิมที่นัดหมายประชุม 2-3 พ.ย. นี้ ออกไปเป็นสัปาดาห์หน้าเนื่องจาก สส. ติดขัดปัญหาการเดินทางมาร่วมประชุม จากกรณีพื้นที่ประชุมปัญหาอุทกภัย
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพฯ ลาดยาว ได้ขนย้ายผู้ต้องขังที่ประสบภัยน้ำท่วมจำนวน 200 คน เดินทางมาด้วยรถยนต์ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จำนวน 4 คัน พร้อมจ้าหน้าที่ผู้คุมเรือนจำจำนวน 14 คน นำโดยนายสมชาย ศักดิ์ศรี หัวหน้าฝ่ายควบคุมเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพฯ โดยนำผู้ต้องขังทั้งหมดมาฝากขังไว้ที่เรือนจำจังหวัดตราด
        ทั้งนี้นายมณฑล ศรีกระจิบ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดตราด กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้หลายจังหวัดถูกน้ำท่วมบ้านเมือง รวมทั้งเรือนจำในจังหวัดต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วม ทำให้มีผู้ต้องขังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมมีมากกว่า 3 หมื่นคน
สำหรับ เรือนจำจังหวัดตราดรับนักโทษจากเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 50 คน ,จ.ปทุมธานี จำนวน 250 คน และวันนี้จากกรุงเทพอีก 200 คน ขณะที่นักโทษในเรือนจำจังหวัดตราดก็มีอยู่ประมาณกว่า 100 คน ทำให้มีนักโทษในเรือนจำมากกว่า 500 คนแล้ว
        อย่างไรก็ตาม ในด้านการดูแลผู้ต้องขังที่ฝากขังได้มีการพูดคุยกับผู้ต้องขังเรือนจำ จังหวัดตราดให้เข้าใจและเห็นใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ทุกคนช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ต้องขังทุกคนทั้งชายและหญิง อย่างผู้ต้องขังจากแดนหญิง ที่มีการเรี่ยไรเงินกันคนละเล็กน้อย จนสามารถรวบรวมเงินได้ 1,800 บาท โดยผู้ต้องขังระบุว่าจะนำเงินทั้งหมดนี้ไปซื้ออาหารเลี้ยงนักโทษที่ประสบภัย และย้ายมาอยู่ที่เรือนจำจังหวัดตราด ทั้งนี้คาดว่าผู้ต้องขังเหล่านี้จะต้องอาศัยอยู่ในเรือนจำจังหวัดตราดนาน ประมาณ 1 เดือน ส่วนผู้ต้องขังที่มาจากอยุธยา และปทุมธานี อาจจะกลับสู่เรือนจำเดิมได้ในเร็วๆ นี้หากสถานการณ์ดีขึ้น
ประมวลภาพ แยกเกษตรอ่วม!! น้ำท่วมหนัก มวลน้ำมุ่งสู่ เมเจอร์รัชโยธิน
       
สี่แยกเกษตร-พหลโยธิน น้ำท่วมสี่แยกหมดแล้ว จราจรติดขัด รถเล็กผ่านไม่ได้ และมวลน้ำกำลังมุ่งหน้าไปเมเจอร์ รัชโยธิน ส่วนอุโมงค์แยกเกษตรยังใช้การได้อยู่ซึ่งบริเวณแยกเกษตร ถ.พหลโยธิน ทั้งขาเข้าและออก ระดับน้ำสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตรส่วน ทางด้านพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังน้ำได้เข้าท่วมเต็มพื้นที่ ล่าสุด น้ำได้เพิ่มปริมาณเป็นบางจุด ระดับน้ำสูงกว่า 50 ซ.ม.แล้ว
 
 

 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ความช่วยเหลือไทย 395 ล้านบาท
        รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ความช่วยเหลือไทย 395 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูประเทศจากน้ำท่วม พร้อมอนุญาตแรงงานบริษัทในเครือไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้...
        บรรษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น หรือ NHK รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจให้เงินช่วยเหลือประมาณ 395 ล้านบาทแก่ไทย เพื่อนำไปฟื้นฟูประเทศจากสภาพน้ำท่วม นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะอนุญาตให้แรงงานชาวไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นที่ถูกพักงานจากน้ำ ท่วม สามารถเข้าไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ และส่งผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น มาให้คำปรึกษาเรื่องการระบายน้ำจากพื้นที่เขตเมือง รัฐบาล ญี่ปุ่น กล่าวว่า ไทยต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ในสภาพที่น้ำกำลังท่วมแผ่ขยายวงกว้าง และรัฐบาลญี่ปุ่นจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ไทย หลังจากที่ได้ประเมินความต้องการแล้ว
น้ำท่วมแยกเกษตร ซึมอุโมงค์ ผุดท่อขึ้นถ.อีกฝั่ง
        น้ำล้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทะลักท่วมพื้นที่แยกเกษตรแล้ว ล่าสุดน้ำผุดขึ้นจากท่อ ทำให้ถนนฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัย เริ่มมีน้ำท่วมขังใกล้ซอยงามวงศ์วาน 62 ขณะที่อุโมงค์ลอดแยกเกษตรยังเปิดใช้ตามปกติ แม้จะมีน้ำไหลซึมบ้าง…


        เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 1 พ.ย. ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์น้ำในช่วงเช้าของวันทำงานวันแรก หลังรัฐบาลประกาศวันหยุดราชการไปตั้งแต่วันที่ 27-31 พ.ย. ล่าสุดน้ำจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้ล้นมายังสี่แยกเกษตรแล้ว โดยระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 20 เซนติเมตร จากที่เมื่อวานนี้ (31 ต.ค.) น้ำยังอยู่แค่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัย บนถนนพหลโยธินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และที่บริเวณถนนด้านมหาวิทยาลัยเกษตร เส้นเกษตร-นวมินทร์ มุ่งหน้าไปแยกลาดปลาเค้า น้ำได้ท่วมขังเต็มพื้นถนนแล้ว บางจุดสูงจนรถจักรยานยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านได้

 
        
ทั้งนี้ น้ำยังได้ผุดขึ้นจากท่อบนถนนเกษตร-นวมินทร์ ฝั่งตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริเวณใกล้ซอยงามวงศ์วาน 62 แล้วเช่นกัน ขณะที่ประชาชนใกล้เคียง เริ่มตื่นและออกมาสังเกตระดับน้ำย่านบริเวณดังกล่าวจำนวนมาก และพากันวิจารณ์ว่า น้ำเอ่อขึ้นจากท่ออย่างรวดเร็ว ส่วนพ่อค้าแม่ค้าย่านตลาดอมรพันธุ์ก็ยังค้าขายผักสดกันตามปกติ

 
        
นอกจากนี้ น้ำยังได้ล้นมาถึงถนนประเสริฐมนูกิจ โดยรถยนต์ยังสามารถสัญจรได้ตามปกติ แต่ต้องชะลอความเร็วกันเป็นจำนวนมาก และน้ำยังไหลซึมลงไปยังอุโมงค์หรือทางลอดแยกเกษตรบ้างแล้ว แต่ยังมีปริมาณไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เช้าวันนี้รถยนต์ยังสามารถขับลอดอุโมงค์ได้ตามปกติทั้ง 2 ฝั่ง โดยยังไม่มีการปิดการจราจรแต่อย่างใด.
เปิดชื่อ19เขตกทม. “รอดน้ำท่วม“
        นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยในรายการ เจาะข่าวเด่น ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ถึงการระบายน้ำท่วมในกทม. โดยระบุว่า เขตที่จะรอดจากน้ำท่วม 19 เขตคือ บางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง ภาษีเจริญ วัฒนา ดินแดง สาทร ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน ป้อมปราบฯ สวนหลวง ประเวศ ห้วยขวาง วังทองหลาง บางซื่อ บางกอกน้อย
        3 เขตเสี่ยง ได้แก่ สะพานสูง บางกะปิ บึงกุ่ม ที่อยู่ริมคลองแสนแสบ จากเปิดคลองสามวา ประชาชนที่อยู่ ตามแนวริมคลองจะได้รับผลกระทบมากกว่า
        11 เขตที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำขึ้น-ลงของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางรัก บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย พระโขนง คลองสาน บางกอกใหญ่ บางนา
        5 เขตกทม. ที่ต้องรับน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ คลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก บางแค และ 7 เขต ที่ต้องได้รับผลกระทบรุนแรงคือ ดอนเมือง บางพลัด สายไหม ทวีวัฒนา หลักสี่ บางเขน ตลิ่งชัน โดยกทม.พยายามจะยันพื้นที่ เขตห้วยขวาง วังทองหลางให้มากที่สุด

ถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิด หนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลาย ล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและ เป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ประเภทของถ่านหิน

การ เกิดถ่านหินมีความหลากหลายทั้งจากปัจจัยของแหล่งกำเนิด ระยะเวลาและสภาวะต่างๆ ทำให้ถ่านหินจากแหล่งต่างกันมีองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างกันและถูกแบ่ง ประเภทไว้เป็นศักดิ์ (RANK) ตามความสมบูรณ์ทางธรณีวิทยาที่กลายเป็นถ่านหิน (Coalification Process) สามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น 5 ประเภท คือ


  1. พีต (Peat) เป็นขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืชซึ่ง บางส่วนได้สลายตัวไปแล้ว แต่ซากพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด ยังมองเห็นเป็นลำต้น กิ่ง หรือใบ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ มีปริมาณคาร์บอนต่ำ ประมาณร้อยละ 50-60 โดยมวล มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นสูงแต่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
  2. ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินที่มีสีน้ำตาลผิวด้าน มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีคาร์บอนร้อยละ 60-75 มีออกซิเจนค่อนข้างสูง มีความชื้นสูงถึงร้อยละ 30-70 เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า บ่มใบยาสูบ
  3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าลิกไนต์ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ผิวมีทั้งด้านและเป็นมัน มีทั้งเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง มีความชื้นประมาณร้อยละ 25-30 มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม
  4. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าซับบิทูมินัส เนื้อแน่น แข็ง มีสีน้ำตาลถึงสีดำสนิท ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ และเป็นวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ
  5. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าบิทูมินัส มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 90-98 ความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 2-5 มีค่าความร้อนสูงแต่ติดไฟยาก เมื่อติดไฟให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ

 การใช้ประโยชน์ถ่านหิน

ถ่าน หินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

 แหล่งถ่านหินในประเทศไทย

ประเทศ ไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีปริมาณสำรองทั้งสิ้น ประมาณ 2,197 ล้านตัน แหล่งสำคัญอยู่ในภาคเหนือประมาณ 1,803 ล้านตัน หรือร้อยละ 82 ของปริมาณสำรองทั่วประเทศ ส่วนอีก 394 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 18 อยู่ภาคใต้ ถ่านหินส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส มีค่าความร้อนระหว่าง 2,800 - 5,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม หรือ ถ่านลิกไนต์ 2 - 3.7 ตัน ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตา 1 ตัน ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด พบว่าส่วนใหญ่ มีเถ้าปนอยู่มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย คาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 - 74 ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 45 โดยน้ำหนัก ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังไม่แพงประเทศไทยไม่นิยมใช้ลิกไนต์มากนักแต่ภายหลัง ที่เกิดวิกฤติน้ำมัน จึงได้มีการนำลิกไนต์มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นทั้งในด้านการ ผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหินที่มีการสำรวจพบบางแหล่งได้ทำเหมืองผลิตถ่านหินขึ้นมาใช้ ประโยชน์แล้ว แต่บางแหล่งยังรอการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ในฐานะเป็นเชื้อเพลิงตัวหนึ่งถ่านหินก้อมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองเช่นเดียวกับ เชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซ และเชื้อเพลิงหมุนเวียน การพิจารณานำมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อสถานการณ์แตกต่างกันไป โดยข้อดีและข้อด้อยของเชื้อเพลิงชนิดต่างๆสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้
เชื้อเพลิง
ข้อดี
ข้อเสีย
ถ่านหิน
มีอยู่มาก ไม่ขาดแคลน ขนส่ง และเก็บง่าย ราคาถูก ปลอดภัย ไม่เสี่ยง
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมากที่สุด ปัญหาการยอมรับของสังคมทำให้ต้องมีการจัดการลดก๊าซ CO₂ มาก
น้ำมัน
เหมาะสมกับภาคขนส่ง ใช้สะดวก ขนส่งและเก็บง่ายแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก ปริมาณสำรองเหลือน้อย
ก๊าซ
มีประสิทธิภาพสูง ไม่เหลือกากหรือเศษที่ต้องกำจัด เหมาะสมกับภาคครัวเรือน
มี องค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก แปลงเป็นเชื้อเพลิงอื่น หรือผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ราคาผันผวนมาก ไม่มั่นคง มีแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว มีความเสี่ยงขณะขนส่ง และเก็บ
นิวเคลียร์
เชื้อเพลิงราคาถูก ให้พลังงานมาก ปราศจากคาร์บอน
การจัดการกับกากนิวเคลียร์ยังเป็นประเด็นปัญหา ปัญหาการยอมรับ ความเสี่ยงเรื่องความคุ้มค่าของสังคม เงินลงทุนสูงมาก
เชื้อเพลิงหมุนเวียน
เกิดมลภาวะน้อย ใช้ได้ยั่งยืน
ความ เสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อการร้าย ปริมาณจำกัด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และฤดูกาล มีไม่พอกับความต้องการ แต่พลังงานน้อย ใช้พื้นที่กองเก็บมาก ราคาผันผวน พลังงานแสงอาทิตย์ใช้พื้นที่มาก ให้พลังงานต่อน้ำหนักน้อย

 การใช้ถ่านหินในโลก

ถ่าน หินเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 41 มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถจัดหาได้ง่าย การใช้ถ่าน การใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ ถ่านหินมาต้มน้ำให้เกิดไอน้ำโดยใช้หม้อไอน้ำ (Steam Boiler) หรือเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Steam Generator)และส่งไอน้ำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)เพื่อผลิตไฟฟ้า
นอกจากใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าแล้ว ถ่านหินยังเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร เป็นต้น สารเคมีต่างๆ ในถ่านหินยังสามารถแยกออกมาเพื่อผลิตพลาสติก น้ำมันทาร์ ไฟเบอร์สังเคราะห์ ปุ๋ย และยาได้
แหล่งถ่านหินนั้นมีกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแหล่งที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ (Recoverable Reserves) มีประมาณ 70 ประเทศ ซึ่งจากการประมาณปริมาณสำรองถ่านหินของโลก โดย Energy Information Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ทั่วโลกมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1,000,912 ล้านตัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองถ่านหินอยู่มาก ได้แก่ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปแลนด์ เยอรมัน และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศรัสเซีย
เนื่องจากถ่านหินมีราคาถูก สามารถจัดหาได้ง่ายและกองเก็บไว้ในโรงไฟฟ้าได้ทำให้การผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับ ไฟฟ้าขั้นต่ำ (Base Load Demand)ส่วนความผันผวนของราคาถ่านหิน เนื่องจากถ่านหินเป็นสินค้า (Commodity)ชนิดหนึ่งซึ่งมีการซื้อขายกันในตลาดโลกเช่นเดียวกับน้ำมัน ราคาถ่านหินจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือต่ำลงในลักษณะเดียวกับน้ำมันได้ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และการเก็งกำไรในตลาด อย่างไรก็ตามถ่านหินยังคงมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น

 การใช้ถ่านหินในประเทศไทย

ถ่าน หินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นลิกไนต์ (Lignite) ที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ คือมีค่าความร้อนต่ำ ความชื้นสูง เถ้าสูง และบางแหล่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูง ดดยมีแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้นคือ ซับบิทูมินัส (Sub bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)อยู่เพียงเล็กน้อย ที่จังหวัดเลย สำหรับปริมาณปริมาณถ่านหินสำรองของประเทศไทย แบ่งเป็นลิกไนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า มีปริมาณ 1,140 ล้านตัน และซับบิทูมินัส ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม ประมาณ 200 ล้านตัน
ปัจจุบันประชาชนชาวไทยยังไม่ยอมรับเชื้อเพลิงถ่านหินเนื่องจากประสบการณ์ใน อดีตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเทคโนโยยีในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยและการลงทุนติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ ควบคุมมลภาวะอาจยังไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับแหล่งถ่านหินในประเทศเป็นถ่ายหินที่คุณภาพไม่ดีนัก ถึงแม้ภายหลังจะได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดี ทั้งด้านเทคโนโลยีที่สะอาดและการได้รับความยอมรับในพื้นที่ แต่ก็ยังเป็นที่กังวลของหลายฝ่าย จึงทำให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย

 อ้างอิง

1.                              ^ สำราญ พฤกษ์สุนทร, คัมภีร์เคมี ฉบับสมบูรณ์ ม.4-5-6, สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, หน้า 313-314, ISBN 978-974-9719-57-2

 อ้างอิง

ทางเลือกเชื้อเพลิง ทางออกไฟฟ้าไทย กระทรวงพลังงาน